"Welcome to my blog" ยินดีต้อนรับ ;)

วันเสาร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ตารางธาตุ


อ่านเพิ่มเติม...

พันธะไอออนิก (ionic bonds)



   พันธะไอออนิก คือ พันธะที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากแรงดึงดูดทางไฟฟ้าสถิตระหว่างไอออนบวก(cation) และไอออนลบ(anion) อันเนื่องมาจากการถ่ายโอนอิเล็กตรอน จากโลหะให้แก่อโลหะ  โดยทั่วไปแล้วพันธะไอออนิกเป็นพันธะที่เกิดขึ้นระหว่างโลหะและอโลหะ ทั้งนี้เนื่องจากว่าโลหะมีค่าพลังงานไอออไนเซชัน(ionization energy)ต่ำ แต่อโลหะมีค่าสัมพรรคภาพอิเล็กตรอน(electron affinity)สูง ดังนั้นโลหะจึงมีแนวโน้มที่จะให้อิเล็กตรอน และอโลหะมีแนวโน้มที่จะรับอิเล็กตรอน อ่านเพิ่มเติม...

พันธะโควาเลนต์



  พันธะโควาเลนต์ (Covalent bond) หมายถึง พันธะในสารประกอบที่เกิดขึ้นระหว่างอะตอม 2 อะตอมที่มีค่าอิเล็กโตรเนกาติวิตีใกล้เคียงกันหรือเท่ากัน แต่ละอะตอมต่างมีความสามารถที่จะดึงอิเล็กตรอนไว้กับตัว อิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะจึงไม่ได้อยู่ ณ อะตอมใดอะตอมหนึ่งแล้วเกิดเป็นประจุเหมือนพันธะไอออนิก หากแต่เหมือนการใช้อิเล็กตรอนร่วมกันระหว่างอะตอมคู่ร่วมพันธะนั้นๆและมี จำนวนอิเล็กตรอนอยู่รอบๆ แต่ละอะตอมเป็นไปตามกฎออกเตต อ่านเพิ่มเติม...

โมลาริตี (molarity : M

    โมลาริตี หรือ โมลาร์ เป็นหน่วยความเข้มข้น ที่เป็นอัตราส่วนของจำนวนโมลของตัวถูกละลายที่อยู่ในสารละลาย ปริมาตร 1 ลิตร (L) จะเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ M สามารถเขียนเป็นสูตรได้ดังนี้


โมลาร์ มีหน่วยเป็น mol / L

      ปริมาตรของสารละลาย โดยทั่วไปจะบอกเป็นหน่วยมิลลิลิตร (mL) ดังนั้น ความสัมพันธ์หน่วยของปริมาตร ระหว่าง มิลลิลิตร กับ ลิตร  อ่านเพิ่มเติม...

วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การคำนวณสูตรเอมพิริคัล และสูตรโมเลกุล



สูตรเอมพิริคัล =  น้ำหนักของสาร A  :   น้ำหนักของสาร B 
                        มวลอะตอมสาร A   :   มวลอะตอมสาร B

ในการคำนวณสูตรเอมพิริคัลนั้น จำเป็นต้องทราบข้อมูลต่อไปนี้
  1. สารนั้นมีธาตุใดเป็นองค์ประกอบ
  2. ธาตุเหล่านั้นมีมวลอะตอมเท่าใด
  3. ทราบน้ำหนักของธาตุที่เป็นองค์ประกอบแต่ละชนิด
  4. คำนวณหาสูตรเอมพิริคัล
  5. ทราบมวลโมเลกุล
  6. สูตรโมเลกุล  อ่านเพิ่มเติม...